Symptoms of Parkinson Disease

อาการของโรคพาร์กินสัน

1. อาการสั่นขณะช่วงการพัก (Resting tremor) 

เป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันประมาณร้อยละ 70 มักเป็นอาการแรกที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์ ลักษณะอาการสั่นของผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน จะมีลักษณะเฉพาะและมีความสำคัญมากในการแยกอาการสั่นในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันออกจากโรคอื่นๆ ที่มีอาการใกล้เคียงและอาจทำให้เกิดความสับสนได้

 

2. อาการเคลื่อนไหวช้า (Bradykinesia)

เป็นอาการหลักอีกอย่างในกลุ่มอาการพาร์กินสันนิสซึ่ม ผู้ป่วยบางท่านอาจมาพบแพทย์และบอกว่าตนเองเคลื่อนไหวช้าลง หรือญาติสังเกตว่าผู้ป่วย ทำอะไรช้าลง แต่ในทางปฏิบัติแล้ว อาการเคลื่อนไหวช้ามักเป็นสิ่งที่แพทย์ตรวจพบ ขณะตรวจ ร่างกาย อาการเคลื่อนไหวช้าในช่วงแรกมักจะเริ่มที่ส่วนปลายนิ้วหรือปลายเท้าก่อน แล้วค่อยๆ มาที่กลางลำตัว นอกจากนี้ ผู้ป่วยพาร์กินสันมักจะมีระยะเวลาพักก่อนที่เริ่มเคลื่อนไหว หรือใช้ระยะเวลาพักหนึ่งก่อนการเคลื่อนจะเกิดขึ้น (Akinesia) เมื่อผู้ป่วยเริ่มการเคลื่อนไหวแล้ว การเคลื่อนไหวนั้นยังคงช้า การเคลื่อนไหวที่ช้ามักเกิดพร้อมกับการเคลื่อนไหวที่มีช่วงแคบ หรือ เล็กลง (Hypokinesia) จำง่ายๆ ว่าอาการของโรคพาร์กินสันคืออาการสั่นที่เริ่มขึ้นด้านใดด้านหนึ่งขณะอยู่เฉย ร่วมกับการเคลื่อนไหวที่ช้าและมีช่วงแคลและเล็กลง

3. อาการแข็งเกร็ง (Rigidity)

อาการแข็งเกร็งนี้มักจะสังเกตได้ยากด้วยตาเปล่าและมักเป็นอาการที่แพทย์ตรวจพบได้จากการตรวจร่างกายผู้ป่วยที่เดินเข้ามาพบแพทย์ ในลักษณะที่ข้อศอกงอขึ้นด้านใดด้านหนึ่ง อาจเป็นอาการแสดงออกของอาการแข็งเกร็งในด้านนั้น ทำให้ไม่สามารถเหยียดแขนออกได้ไม่เต็มที่

ผู้ป่วยพาร์กินสันมักจะมีอาการแข็งเกร็งในด้านเดียวกันกับที่มีอาการสั่นและจะได้เห็นได้ชัดขึ้น ในขณะที่เราเบี่ยงเบนความสนใจของผู้ป่วยรายนั้นไป การเคลื่อนไหวที่แข็งเกร็งและช้า มักเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยมากที่สุด ในทางตรงกันข้ามอาการสั่นมักเป็นอาการที่ผู้ป่วยหรือญาติพาผู้ป่วยมาพบแพทย์มากที่สุด เพราะสังเกตเห็นง่าย

4. การทรงตัวขาดความสมดุล (Postural instability)

อาการนี้มักจะไม่เกิดกับผู้ป่วยพาร์กินสันในระยะแรก แต่มักจะเกิดเมื่ออาการผ่านไปแล้ว 2-5 ปี อาการที่มักจะได้ยินจากญาติหรือตัวผู้ป่วยเอง คือการหกล้ม ในแบบของการเดินถอยหลัง การตรวจที่เรียกว่า พูลเทสต์ (Pull Test) เป็นการตรวจที่แพทย์ศึกษาว่าผู้ป่วยยังทรงตัวได้ดีหรือไม่ โดยการดึงผู้ป่วยถอยหลังเข้ามาหาตัวผู้ตรวจที่ยืนอยู่ข้างหลัง ในคนปกติจะสามารถ ทรงตัวได้ โดยใช้เอวหรือก้าวถอยหลังมาเพียง 1 หรือ 2 ก้าว ในขณะเดียวกันผู้ป่วยพาร์กินสันที่มีปัญหา เรื่องการทรงตัวจะถอยหลังมากกว่า 1 หรือ 2 ก้าว และลำตัวจะโน้มถอยหลังมาไม่สามารถทรงตัวได้ ถ้าเป็น มาก ผู้ป่วยอาจจะล้มได้ ผู้ป่วยพาร์กินสันในช่วง 2-5 ปีแรกมักมีอาการในเรื่องของการสั่น เคลื่อนไหวช้า แข็งเกร็ง ปัญหาในเรื่องของการหกล้ม ซึ่งเกิดเนื่องจากการทรงตัวมักไม่เกิดขึ้นในช่วงแรก เพราะฉะนั้นถ้า ผู้ป่วยที่มาหาแพทย์โดยปัญหาหลักคือการทรงตัวและการหกล้มในช่วงแรก ซึ่งเป็นอาการพาร์กินสันนิสซึ่ม ที่อาจมีสาเหตุอื่นนอกเหนือจากโรคพาร์กินสัน

 

 

 

Visitors: 56,531